วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 11

      การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูจะต้องทำกิจกรรม  ๗ อย่าง  คือ  ๑) การวิเคราะห์หลักสูตร  ๒) การวิเคราะห์ผู้เรียน  ๓) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย  ๔) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน  ๕) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ  ๖) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ   ๗) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน
      จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  (ข้อสอบ ๒๐ คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้


        
   การจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมี  ความรู้คู่คุณธรรม  ผู้เรียนมีคุณธรรม  จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์    สังเคราะห์  และมีวิสัยทัศน์ที่ดีกว้างไกล  ดังนั้นการจัดการศึกษาจึงมีความจำเป็นและเป็นหน้าที่ที่สำคัญของโรงเรียนที่ต้องจัดการศึกษามีการส่งเสริม  และสนับสนุนให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  และมาตรฐานด้านปัจจัยกำหนดให้ครูมีความสามารถในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

         ๑. เน้นให้ผู้เรียนได้เห็นประโยชน์ของสังคม   เรียนรู้ร่วมกัน มีการทำงานร่วมกัน  ฝึกฝนให้รู้จักการเทคนิคและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง  มีอิสระและรับผิดชอบ                                                          
         ๒. ครูต้องมีการวางแผนการจัดกิจกรรม เตรียมสื่อการสอนกำกับดูและกระบวนการจัดกิจกรรม ส่งเสริมการนำความรู้ไปใช้ ดังนั้นครูจึงจำเป็นต้องมีการ เตรียมการสอนเพื่อเป็นเครื่องช่วยให้ครูได้พัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ไปสู่จุดประสงค์การเรียนรู้และจุดหมายของหลักสูตร
         ๓. การที่เราจะจัดการเรียนการสอนจากการสังเกต  วัดผล  ทดสอบต่างๆ  เรานำมาวิจัยดูพฤติกรรมของผู้เรียนและนำไปพัฒนานวัตกรรมสื่อใหม่ๆเพื่อการเรียนรู้และปรับปรุงการสอนให้ดีขึ้นและนำประสบการณ์มาปรับปรุงและแก้ไขแล้วนำไปใช้ในอนาคต
         


                                                                                 แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย                                                                             (ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ ปฏิบัติการสายลับจิ๋ว                                                                   จำนวน ๘ ชั่วโมง
แผนการเรียนรู้ที่ ๓ เรื่อง เชี่ยวชาญความรู้                                                                        เวลา ๑ ชั่วโมง
วันที่ ..............เดือน..............  ..  ..................

มาตรฐาน ท๑.๑   ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาและสร้างวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิต  และมีนิสัยรักการอ่าน
สาระสำคัญ
         การอ่านในใจเป็นการอ่านที่เข้าใจเรื่องราวได้เพียงคนเดียว ผู้อ่านต้องใช้สมาธิ สติในการอ่าน ศึกษาคำยาก  ตั้งจุดหมายในการอ่าน อ่านอย่างพินิจ พิจารณาจะทำให้จับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถตอบคำถาม      ลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง และนำไปเขียนเป็นแผนภาพโครงเรื่อง เพื่อการเล่าเรื่องและเขียนเรื่องได้
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
         .     อ่านในใจบทเรียนตามหลักการอ่านในใจที่ดีได้ถูกต้อง
         .    ตั้งคำถาม ตอบคำถาม จากเรื่องที่อ่านได้
สาระการเรียนรู้      
         .     อ่านในใจบทเรียน เรื่อง ปฏิบัติการสายลับจิ๋ว
         .    การตั้งคำถาม ตอบคำถามของเรื่อง
กระบวนการเรียนรู้
         .     นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละประมาณ ๔ - ๖ คน เพื่อเล่น ปริศนาคำทาย โดยครูเป็นผู้อ่านปริศนาคำทาย
         .    ร่วมกันสนทนาถึงหลักและวิธีการอ่านในใจ โดยครูแจกใบความรู้ เรื่อง การอ่านในใจ โดยให้ศึกษาหาความรู้เป็นกลุ่ม กลุ่มละ ๔-๕ คน
         .    นักเรียนฟังครูแจ้งจุดประสงค์ในการอ่านในใจ หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวังครั้งนี้ เช่น
                  .๑ ตั้งคำถาม และตอบคำถาม จากเรื่องที่อ่านได้
                  .๒สรุปข้อคิด และใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านได้       
         .    แต่และกลุ่มรับใบกิจกรรมที่ ๓ เรื่อง ตั้งคำถามรวมพลังสามัคคี  และทำกิจกรรมตามใบกิจกรรม
         .    แต่ละกลุ่มทำแบบฝึกหัดที่ ๓ เรื่อง การอ่านในใจและคิดวิเคราะห์  เสร็จแล้วส่งครูตรวจ
         ๖.    ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ และข้อคิดที่ได้จากเรื่อง ปฏิบัติการสายลับจิ๋ว โดยครูเน้นให้นักเรียนนำข้อคิดที่ได้จากเรื่องไปใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเรื่องความสามัคคี
         .    นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน หน่วยที่ ๑ ปฏิบัติการสายลับจิ๋ว
สื่อ/อุปกรณ์
         .     ปริศนาคำทาย
         .    ใบกิจกรรมที่ ๓ เรื่อง ตั้งคำถามรวมพลังสามัคคี
         ๓.   แบบฝึกหัดที่ ๓  เรื่อง การอ่านในใจและคิดวิเคราะห์
         .    แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยที่ ๑ ปฏิบัติการสายลับจิ๋ว
แหล่งเรียนรู้
         .     ห้องสมุด
         .    ห้องเรียน
กระบวนการวัดผลประเมินผล
         .     วิธีการวัดผลและประเมินผล
                  .  การสังเกต
                          การอ่านในใจ
                  .๒ ตรวจผลงาน
                          ..  แบบทดสอบหลังเรียน
                          ..  แบบฝึกหัดที่ ๓
         ๒.   เครื่องมือประเมินผล
                  .     แบบสังเกตการอ่านในใจ
                  .    แบบประเมินการตรวจผลงานการตั้งคำถาม (ใบกิจกรรม)
         ๓.   เกณฑ์การประเมิน
                  .     สังเกตอ่านในใจ ผ่านเกณฑ์อย่างน้อยร้อยละ ๘๐
                  .    การตรวจผลงาน ผ่านเกณฑ์อย่างน้อยร้อยละ ๘๐


กิจกรรมที่ 10

    
 เหตุการณ์ที่ผ่านมาเกิดขึ้นกับประชาชนและประเทศไทยให้นักศึกษาอ่านและศึกษา

ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ Internet  Blog ต่าง ๆ และแสดงความคิดเห็นสรุปวิเคราะห์

สังเคราะห์ ลงในบล็อกของนักศึกษา

 1 กรณีเขาพระวิหารจังหวัดศรีสะเก 
             
      กรณีปราสาทเขาพระวิหาร เป็นความขัดแย้งระหว่างราชอาณาจักรกัมพูชากับราช

อาณาจักรไทย ซึ่งเริ่มเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2501 ในการอ้างสิทธิเหนือบริเวณปราสาทเขา

พระวิหาร ซึ่งตั้งอยู่ที่ชายแดนไทยด้านอำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ และชาย

แดนกัมพูชาด้านจังหวัดพระวิหาร ปัญหาดังกล่าวเกิดจากการที่ทั้งไทยและกัมพูชา ถือ

แผนที่ปักปันเขตแดนตามแนวสันปันน้ำของเทือกเขาพนมดงรักคนละฉบับ ทำให้เกิด

ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนของทั้งสองฝ่ายในบริเวณที่เป็นที่ตั้งของตัวปราสาท โดยทั้งฝ่าย

กัมพูชาและฝ่ายไทยได้ยินยอมให้มีการพิจารณาปัญหาดังกล่าวขึ้นที่ ศาลยุติธรรม

ระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2502

คดีนี้ศาลโลกได้ตัดสินให้ตัวปราสาทเขาพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา เมื่อวันที่

15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ท่ามกลางความไม่พอใจของฝ่ายไทย ซึ่งเห็นว่าศาลโลก

ตัดสินคดีนี้อย่างไม่ยุติธรรม เนื่องจากศาลโลกยึดติดอยู่บนแผนที่ฉบับเดียว โดย

ที่ศาล

โลกมิได้มีการตรวจสอบสถานที่อย่างจริงจังตามข้อตกลงไทย-ฝรั่งเศส อย่างไรก็

ตาม

การตัดสินคดีครั้งนี้ไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องอาณาเขตทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชา

ในบริเวณดังกล่าวให้หมดไป และยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังต่อมาจนถึงปัจจุบัน

สถานการณ์ที่เขาพระวิหาร ถือว่าเป็นกรณีตัวอย่างที่มีความซับซ้อนและอ่อนไหว

มีคนใช้ประเด็นนี้เพื่อหวังผลทางการเมืองภายใน และภายนอกประเทศ ที่แม้จะมี

บางมุมที่ส่งผลดี แต่ทว่าก็สุ่มเสี่ยงต่อความพลาดพลั้งที่จะเกิดขึ้น ประการแรก

คือ ชีวิตคนบริสุทธิ์ที่อาจได้รับอันตราย ประการที่สอง คือ การพลาดท่าที่จะทำ

ให้มหาอำนาจเข้ามาแทรกแซงสถานการณ์บริเวณดังกล่าว ที่หากเป็นเช่นนั้นก็จะ

ทำให้การเดินเกมของกัมพูชาในการยึดครองพื้นที่พิพาทบริเวณดังกล่าวง่ายขึ้น

นั่นเอง
              
  จากกรณีดังกล่าวของเขาพระวิหาร จึงเห็นได้ว่าประเทศไทยยังมีพื้นที่ทับซ้อนกันแต่

ว่าการตัดสินของศาลโลกทำให้เกิดการที่เรียกกันว่าเอาเปรียบกัน และไม่ค่อยยุติธรรม

เนื่องมาจากพื้นที่ส่วนนั้นจากการมองดูพื้นที่แบบภูมิศาสตร์เป็นพื้นที่ของไทยแต่จาก

การที่กัมพูชาอาจมีทางเอาชนะได้หลายรูปแบบศาลโลกจึงตัดสินให้กัมพูชาชนะคดี

2 กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์  จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัด

สระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย

เพราะนายกษิต ภิรมย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนแรกและคน

เดียวที่เพิกถอนหนังสือเดินทางทุกประเภทของนักโทษชายทักษิณ ชินวัตร ติดต่อทาง

การทูตกับหลายประเทศเพื่อให้ความร่วมมือในการมิให้นักโทษชายทักษิณทำร้าย

ประเทศไทยและยังขอความร่วมมือในการส่งตัวกลับมารับโทษทัณฑ์ในประเทศไทย

จึงถือเป็นบุคคลอันตรายที่สุดในระบอบทักษิณ ใช่หรือไม่?

แต่ที่น่าจับตามากที่สุดในเวลานี้ กลับเป็นเรื่องผลประโยชน์อันมหาศาลในเรื่องปราสาท

พระวิหาร พื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหาร และดินแดนอธิปไตยของไทย  ๑.๕ ล้านไร่

ตลอดจนผลประโยชน์ทางพลังงานในพื้นที่อ่าวไทย ที่ฝ่ายกัมพูชากำลังรุกล้ำอย่างหนัก

ซึ่งเชื่อว่า ไม่สามารถที่จะเจรจากับนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง

ประเทศเพื่อให้ยินยอมในเรื่องเหล่านี้ได้

นายกษิต ภิรมย์ เป็นผู้เสนอทางออกเรื่องปราสาทพระวิหารว่า  ให้ทำหนังสือยกเลิก

แถลงการณ์ร่วมระหว่างไทยกับกัมพูชาส่งให้ประเทศกัมพูชาและคณะกรรมการมรดก

โลกอันเป็นที่มาของแถลงการณ์ในข้อเรียกร้องของพันธมิตรประชาชนเพื่อ

ประชาธิปไตยในเวลาต่อมา ซึ่งถึงวันนี้รัฐบาลก็ยังไม่ได้ทำตามข้อเรียกร้องดังกล่าวช่าง

บังเอิญว่า นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในช่วงหลังไม่ได้

เป็นผู้เจรจากับนายฮุน เซน ในเรื่องปราสาทพระวิหารและผลประโยชน์ในอ่าวไทยอีก

ต่อไป แต่กลับเป็นนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ที่ไม่

เจรจาเรื่องปราสาทพระวิหารและการรุกล้ำอธิปไตยของไทย แต่กลับไปเจรจาอย่าง

ขะมักเขม้นในเรื่องผลประโยชน์พลังงานในอ่าวไทย ซึ่งดูเหมือนว่าจุดยืนจะไม่เหมือน

กับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายกษิต ภิรมย์ ตามคำสัมภาษณ์ตอนหนึ่งของนายสุ

เทพ เทือกสุบรรณ เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ว่า:
        
 “คิดว่าความรุนแรงบริเวณเขาพระวิหารจะลดระดับลง อย่าไปคิดว่าเขาพระวิหาร

จะต้องมีอะไรโต้แย้งกันระหว่างไทยกับกัมพูชา เพราะศาลโลกตัดสินมาตั้งหลายสิบปี

แล้วว่าเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา ส่วนการพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน ก็มีส่วนอื่นๆ
      
  เป็นความคิดที่เหมือนเป็นพวกเดียวกันกับ นายนพดล ปัทมะ และนายสมัคร สุนทร

เวช อย่างไม่ผิดเพี้ยน! ยังมีเรื่องน่าประหลาดใจมากขึ้นไปอีก ที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ

ยังคงเน้นไมตรีระหว่างประเทศจนมองข้ามการเจรจาเรื่องอธิปไตยในพื้นที่รอบ

ปราสาทพระวิหาร มุ่งเน้นการเจรจาเรื่องผลประโยชน์พลังงานในอ่าวไทยแทน ซึ่งมี

พฤติกรรมคล้ายคลึงกันกับรัฐบาลหุ่นเชิดเมื่อปีที่แล้ว
        
 ทำให้นึกถึงข่าวประจานของฝ่ายกัมพูชาที่ระบุว่า ประเทศไทยมีการเจรจาเรื่องปราสาท

พระวิหารมาแลกเปลี่ยนปะปนกับผลประโยชน์ทางทะเล เมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม  พ.

 ๒๕๕๑ จากหนังสือพิมพ์เดอะ คอมโบเดีย เดลี (The Cambodia Daily)โดยระบุถึงคำ

ให้สัมภาษณ์ของ นายจาม ประสิทธิ์ รัฐมนตรีพาณิชย์ของกัมพูชา ที่ให้สัมภาษณ์ความ

ตอนหนึ่งว่า:
        
  “ฝ่ายไทยเป็นฝ่ายที่พยายามโยงกรณีพื้นที่ทับซ้อนบริเวณเขาพระวิหารเข้ากับผล

ประโยชน์ทางทะเลในอ่าวไทยระหว่างการเจรจากับฝ่ายกัมพูชา ซึ่งกัมพูชาไม่เห็นด้วย

โดยที่พวกเขา (ไทย) ต้องการโยง ๒ เรื่องเข้าด้วยกัน ดังนั้น หากเราแก้ปัญหาเขาพระ

วิหาร เราก็ต้องแก้ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนด้วย มันเป็นคนละเรื่องกัน ดูเหมือนว่าขณะนี้ฝ่าย

ไทยกำลังสร้างเงื่อนไขเพิ่มเติมขึ้นมา ทำให้การแก้ไขปัญหายากขึ้น

3  กรณี MOU43 ของรัฐบาลนายชวนหลีกภัยมีผลต่อการจัดการพื้นที่ชายแดนอย่างไร

หากมีการนำมาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับพี่น้องประชาชนในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับชาย

แดนไทยกับกัมพูชาอย่างไร
            
 นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์กรณีที่หลาย

ฝ่ายเรียกร้องให้มีการยกเลิกบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างไทยกับกัมพูชา ว่าด้วย

การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วมกัน พ.ศ. ๒๕๔๓ ว่า ต้องการให้คนที่มี

ความเข้าใจ และเกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าวเป็นผู้พูด โดยเฉพาะ นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ

และ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร อดีตรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง

การต่างประเทศ ในขณะนั้น และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อไม่ให้เกิด

ความสับสน
         
 สาเหตุที่มีการทำ MOU ดังกล่าว เพราะขณะนั้นมีข้อขัดแย้งตามแนวชายแดนไทย-

กัมพูชา และทั้ง ๒ ฝ่าย พยายามหาข้อยุติร่วมกัน ในการปักปันเขตแดน โดยการปักปัน

ก็เป็นไปตามกระบวนการที่ตกลงกันไว้ และแต่ละฝ่ายต้องไม่ละเมิดพื้นที่ จึงยืนยันได้

ว่าการดำเนินการดังกล่าว ไม่ได้ทำให้ไทยเสียเปรียบ
        
  “ผมคิดว่า ในระหว่างนี้ หลังจากมีการทำข้อตกลง มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ควรต้องลงไปดู

ในพื้นที่ และคุยกับเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อย จะทำให้รู้เบื้องหลังบางเรื่อง ผมไม่ได้ทำอะไร

ให้ประเทศชาติเสียประโยชน์ สมัยผมไม่มีเรื่องผลประโยชน์ส่วนตัว ทุกอย่างทำเพื่อผล

ประโยชน์บ้านเมืองทั้งสิ้น และไม่คิดว่าเอ็มโอยู ปี ๔๓ กลายเป็นจำเลยของสังคม มี

เพียงบางส่วนเท่านั้นที่คิดเช่นนี้" นายชวน กล่าว

กองทัพไม่ประมาท เตรียมพร้อมป้องอธิปไตย เชื่อเขมรไม่พอใจเลื่อนพิจารณา เขาพระ

วิหาร

กรณี คนไทย ๗ คน ประกอบด้วย สส.พรรคประชาธิปัตย์  (นายพนิต)  ประชา

ชหัวใจรักชาติ (นายวีระ สมความคิด นายแซมดิน  นายตายแน่  มุ่งมาจนและผู้ติดตาม

ผู้หญิงอีก ๒ ท่าน) ร่วมกับสส.ไปตรวจพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในการ

แบ่งเขต พื้นที่ชายแดน และถูกทหารกับพูชากับจับหรือลักพาตัวไปขึ้นศาลประเทศ

กัมพูชาในฐานะที่นัก ศึกษาเรียนวิชาสังคม จะนำความรู้มาอธิบายให้นักเรียนของท่าน

ได้รับรู้ข้อมูลอย่างไร  โปรดสรุปและแสดงความคิดเห็น
         
 สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานวันที่ ๗ ม.ค. โดยอ้างหนังสือพิมพ์พนมเปญ โพสต์ และ

สื่อท้องถิ่นของกัมพูชา ที่ระบุว่า กอย เกือง โฆษกกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา ออกมา

ให้สัมภาษณ์โดยยืนยันว่า การพิจารณาคดี  ๗ คนไทยที่ถูกกล่าวหาว่ารุกล้ำดินแดนของ

กัมพูชานั้น ไม่มีความเกี่ยวข้อง และถือเป็น "คนละประเด็น" กับเรื่องความสัมพันธ์ทาง

การทูตระหว่างกัมพูชาและไทย

โฆษกกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา เปิดเผยเรื่องดังกล่าวที่กรุงพนมเปญโดยยืนยันว่า

กรณีของ  ๗ คนไทย ไม่ควรถูกนำมาโยงเป็นเรื่องเดียวกับความสัมพันธ์อันดีระหว่าง

เพื่อนบ้านทั้ง ๒ประเทศ เพราะถือเป็นคนละประเด็นที่ต้อง"แยก" ออกจากกัน พร้อมย้ำ

ว่า ในเวลานี้ต้องปล่อยให้ศาลเป็นผู้พิจารณาเท่านั้น โดยที่ฝ่ายอื่นยังไม่ควรเข้าไปก้าว

ล่วง

อย่าง ไรก็ดี โฆษกกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นใดๆ เกี่ยวกับ

ความเป็นไปได้ที่สมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา จะร้องขอให้มีการอภัยโทษแก่

คนไทยทั้ง ๗ คนในภายหลัง หากศาลกัมพูชามีคำพิพากษาความผิดของทั้งหมดออกมา

แล้ว

ทั้งนี้ ทางการกัมพูชายังไม่มีการกำหนดวันตัดสินคดีของทั้ง ๗ คน ไทยอย่างเป็นทาง

การแต่อย่างใด แต่หากศาลตัดสินว่าทั้งหมดมีความผิดจริงในข้อหาเข้าเมืองโดยผิด

กฎหมาย ก็อาจต้องรับโทษจำคุกในเรือนจำของกัมพูชาสูงสุดเฉพาะข้อหานี้เป็นเวลา

นานถึง ๑๘ เดือน