วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประเมินการใช้เครื่องมือบล็อก

การประเมินการใช้บล็อกนี้
ให้นักศึกษาที่เรียนวิชานี้ แสดงความคิดเห็นการใช้บล็อกดังนี้
1. นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติงานทำงานส่งอาจารย์แล้วมีความคิดเห็นเป็นอย่างไร
ตอบ มีความสะดวกมาก ในการส่งงานจะส่งเมื่อไรก็ได้ บางที่เราอาจจะส่งในห้องเรียนไม่ทันก็ต้องส่งทางอินเตอร์เน็ตแทน เพราะบางทีเวลาในคาบเรียนน้อยไม่พอต่อการเรียนรู้ในชั้นเรียน
2. นักศึกษาได้มีความรู้ในเรื่องบล็อกอะไรบ้าง เช่น เครื่องมือการนำเสนอ การใส่ภาพ VDEO ฯลฯ
ตอบ ได้ความรู้เยอะเลยที่เดียวเกี่ยวกับการสร้างบล็อกและวิธีการตกแต่งบล็อกเพื่อที่จะให้บล็อกนั้นสวยงามขึ้นและน่าสนใจดึงดูดผู้อ่านอีกด้วย และยังได้รู้วิธีการสร้างภาพสไลด์โชว์ในบล็อกด้วยคะ
3. นักศึกษาคิดว่ามีความสะดวกมากน้อยเพียงใดในการใช้บล็อกเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
ตอบ  จากการที่ได้เรียนวิชาการจัดการในชั้นเรียน ดิฉันคิดว่ามีความสะดวกมากเลยคะเพราะว่าการทำงานส่งทางบล็อกมันก็ดีอีกอย่าง บางทีเราทำยังไม่เสร็จก็ไม่ต้องรีบก็ได้ค่อยๆทำและยังจะช่วยให้เราชำนาญมากขึ้นในการใช้เทคโนโลยี
4.นักศึกษามีความพึงพอใจ ในระดับใด เช่น มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่ แสดงความคิดเห็นและประเมินในเครื่องมือหน้าบล็อกของอาจารย์ เลือกตอบข้อเดียว(เลือกประเมินตามห้องและวิชาเอก)
       ตอบ มีความพอใจมากที่สุด เพราะถ้าเราไม่เรียนวิชานี้เราก็ไม่สามารถที่จะสร้างบล็อกได้ บางทีถ้าเราจะไปสร้างบล็อกเองก็คงไม่มีวันที่เราจะไปสร้าง ก็ดีเหมือนกันจะทำให้เราได้รู้เท่าทันเทคโนโลยีใหม่ๆและเท่าทันเพื่อนๆด้วยคะ

ข้อสอบครั้งที่ 2

          ให้นักศึกษาให้ความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้
1. Classroom Management           การจัดการเรียนการสอน
2. Happiness Classroom               การจัดชั้นเรียนมีความสุข
3. Life-long Education                 การศึกษาตลอดชีวิต
4. formal Education                     การศึกษานอกโรงเรียน
5. non-formal education      การศึกษานอกระบบ
6. E-learning                       การเรียนรู้
7. Graded                           ให้คะแนน
8. Policy education            นโยบายการศึกษา
9. Vision                            วิสัยทัศน์
10. Mission                       หน้าที่
11. Goals                          เป้าหมาย
12. Objective                    วัตถุประสงค์
13. backward design        ย้อนกลับการออกแบบ
14. Effectiveness             ประสิทธิผล
15. Efficiency                  ประสิทธิภาพ
16. Economy                  เศรษฐกิจ
17. Equity                      ตราสารทุน
18. Empowerment          เสริมสร้างพลังอำนาจ
19. Engagement              หมั่น
20. Project                      โครงการ
21. activies
22. Leadership             ความเป็นผู้นำ
23. Leaders                  ผู้นำ
24. Follows                  ดังต่อไปนี้
25. Situations               สถานการณ์
26. Self awareness        ความตระหนักในตนเอง
27. Communication      การสื่อสาร
28. Assertiveness           อหังการ
29. Time management   การบริหารเวลา
30. POSDCoRB
31. Formal Leaders     ผู้นำอย่างเป็นทางการ
32. Informal Leaders      ผู้นำทางการ
33. Environment         สิ่งแวดล้อม
34. Globalization          วัฒนธรรมองค์กร
33. Competency
34. Organization Cultural    องค์กรเกี่ยวกับวัฒนธรรม
35. Individual Behavior      พฤติกรรมบุคคล
36. Group Behavior            พฤติกรรมกลุ่ม
37. Organization Behavior พฤติกรรมองค์การ
38. Team working               ทำงานเป็นทีม
39. Six Thinking Hatss        หมวกคิด
40. Classroom Action Research      วิจัยในชั้นเรียน


 

วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การสอบ

คำสั่งให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบลงในบล็อกดังนี้
1.Classroom managemant นักศึกษามีความเข้าใจความหมายอย่างไร และเกี่ยวข้องกับการศึกษาอย่างไร
Classroom management  (การจัดการชั้นเรียน)  หมายถึงการจัดการที่ช่วยเสริมสร้างและกระตุ้นให้ผู้เรียนมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้ทั้งภายในชั้นเรียน และภายนอกชั้นเรียน  การจัดการมีทั้งทางชีวภาพและกายภาพ  
Classroom management  มีความเกี่ยวข้องกับการศึกษา  คือเพราะการศึกษาเป็นการพัฒนาเยาวชน  ดังนั้นการศึกษาที่ดีก็ต้องสอดคล้องกับความต้องการของเยาวชนแต่ละคนแต่ละพื้นที่  ที่มีความต้องการและความสามารถไม่เหมือนกัน  ดังนั้น Classroom management  (การจัดการชั้นเรียน)  มีความสำคัญอย่างยิ่งกับการศึกษาและเกี่ยวข้องโดยตรงกับการศึกษาที่จะต้องจัดการชั้นเรียนให้เข้ากับผู้เรียน  ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องจัดการชั้นเรียนให้ทันต่อโลกปัจจุบัน
2. ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพครู ซึ่งประกอบด้วย มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน  มาตรฐานการปฏิบัติตน อย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
 มาตรฐานความรู้ หมายถึง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยต้องมีสาระความรู้และสมรรถนะตามมาตรฐานในเรื่องต่อไปนี้
- ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
- การพัฒนาหลักสูตร
- การจัดการเรียนรู้
- จิตวิทยาสำหรับครู
- การวัดและประเมินผลการศึกษา
- การบริหารจัดการในห้องเรียน
- การวิจัยทางการศึกษา
- นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
- ความเป็นครู
มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด ดังนี้
- การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
- การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ มีความหมายครอบคลุมมาตรฐานย่อยๆ ของการปฏิบัติงาน ๑๒ ประการด้วยกัน คือ
     -  ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
     -  ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
     -  มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
     -  พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
     -  พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
     -  จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
     -  รายงานผลกรพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
     -  ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีกับผู้เรียน
     -  ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
     -  ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
     -  แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
     -  สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์
มาตราฐานการปฏิบัติตน  หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ จะต้องประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู ๕ ประการดังต่อไปนี้
- จรรยาบรรณต่อตนเอง
- จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
- จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อสังคม
๓.ท่านมีแนวคิดหรือหลักการจัดชั้นเรียนในโรงเรียน อย่างไรที่จะเกิดปรโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน      ควรจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน เพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่เรียนตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน นอกจากนี้ห้องเรียนควรมีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันและกัน ย่อมเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการเรียน รักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และช่วยปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความประพฤติอันดีงามให้แก่นักเรียน นอกจากนี้การมีห้องเรียนที่มีบรรยากาศแจ่มใส สะอาด สว่าง กว้างขวางพอเหมาะ มีโต๊ะเก้าอี้ที่เป็นระเบียบเรียบร้อย มีมุมวิชาการส่งเสริมความรู้ มีการตกแต่งห้องให้สดใส  สะอาด  สว่าง  ปลอดโปรงกว้างขวางเหมาะสมในการเรียน  มีโต๊ะเก้าอี้ที่เป็นระเบียบเรียบร้อย   มีมุมวิชาการส่งเสริมความรู้  มีการตกแต่งห้องให้สดใส  ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ส่งผลทำให้ผู้เรียนพอใจมาโรงเรียน เข้าห้องเรียนและพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมการเรียนการสอน และควรมีการเรียนการเรียนการสอนแบบ Student Centered ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ดังนั้น ผู้เป็นครูจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ ประเภทของบรรยากาศ หลักการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนและการจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุข เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีลักษณะตามที่หลักสูตรได้กำหนดไว้

4.ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดการชั้นเรียนในโรงเรียน ได้แก่ (1) การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน (2) สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย ท่านมีแนวคิดในการพัฒนา(1)และข้อ(2)อย่างไร ที่จะทำให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จดังกล่าว
     จัดโรงเรียนให้สะอาดร่มรื่น เรียบง่าย มีชีวิตชีวา วัสดุอาคารสถานที่ได้รับการดูแล มีความปลอดภัย มีการจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดี เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนได้เห็นแบบอย่างและสิ่งที่ดีจะได้ซึมซับกับสิ่งเหล่านั้น และอยากที่จะมาโรงเรียนอยากเข้าชั้นเรียนมากขึ้น
ทางโรงเรียนต้องมีการจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน  สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย  สภาพแวดล้อมดังกล่าวทำให้นักเรียนมีสุขภาพ ทางกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ซึ่งมีอิทธิผลต่อความเป็นอยู่และการเรียนของนักเรียนเป็นอันมาก ครูมีส่วนช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้ดีได้   เช่น ให้นักเรียนจัดหรือติดอุปกรณ์ให้มีสีสันสวยงาม จัดกระถางต้นไม้ประดับชั้นเรียน จัดที่วางของชั้นเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรม คอยให้คำแนะนำในการอ่านหนังสือ ค้นคว้าแก้ปัญหา และครูควรสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน ไม่ให้เครียด เป็นกันเองกับนักเรียน ให้นักเรียนรู้สึกมีความปลอดภัย สะดวกสบายเหมือนอยู่ที่บ้าน
5.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตคำว่าคุณภาพผู้เรียนท่านมีความเข้าใจอย่างไรอธิบายยกตัวอย่างประกอบ ในทัศนคติของนักศึกษาครู
คุณภาพผู้เรียนสำหรับข้าพเจ้าคิดว่าคุณภาพด้านต่างๆของผู้เรียนตามที่หลักสูตรของสถานศึกษา  หรือหลักสูตรของชั้นเรียนกำหนดมาตรฐานไว้อยู่แล้ว  ได้แก่
1.ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ 
ตัวอย่างเช่น มีวินัย มีความรับผิดชอบ  มีความซื่อสัตย์สุจริต  มีความกตัญญูกตเวที  ประหยัด รู้จักใช้ทรัพย์สิ่งของส่วนตน และส่วนรวมอย่างคุ้มค่า  ภูมิใจในความเป็นไทย เห็นคุณค่าภูมิปัญญาไทย นิยมไทย และดำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย
2.ผู้เรียนมีจิตสำนึก ในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
ตัวอย่างเช่น รู้คุณค่าของสิ่งแวดล้อมและตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม  เข้าร่วมหรือมีส่วนร่วมกิจกรรม/โครงการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม

3. ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
ตัวอย่างเช่น  มีทักษะในการจัดการและทำงานให้สำเร็จ  เพียรพยายาม ขยัน อดทน ละเอียดรอบคอบในการทำงาน  ทำงานอย่างมีความสุข พัฒนางานและภูมิใจในผลงานของตนเอง ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้  มีความรู้สึกที่ดีต่ออาชีพสุจริตและหาความรู้เกี่ยวกับอาชีพที่ตนสนใจ
4. ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ  มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์
ตัวอย่างเช่น  สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปความคิดรวบยอด คิดอย่างเป็นระบบและมีการคิดแบบองค์รวม  สามารถคาดการณ์ กำหนดเป้าหมาย และแนวทางการตัดสินใจได้  ประเมินและเลือกแนวทางการตัดสินใจ และแก้ไขปัญหาอย่างมีสติ  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มองโลกในแง่ดี และมีจินตนาการ
5 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร
ตัวอย่างเช่น  มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยตามเกณฑ์ มีผลการทดสอบรวบยอดระดับชาติเฉลี่ยตามเกณฑ์  สามารถสื่อความคิดผ่านการพูด เขียน หรือนำเสนอด้วยวิธีต่างๆ  สามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ  สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการเรียนรู
 6 ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
ตัวอย่างเช่น  มีนิสัยรักการอ่าน การเขียน และการฟัง รู้จักตั้งคำถามเพื่อหาเหตุผล  สนใจแสวงหาความรู้จากแหล่งต่างๆ รอบตัว ใช้ห้องสมุด แหล่งความรู้และสื่อต่าง ๆได้ ทั้งในและนอกสถานศึกษา  และมีวิธีการเรียนรู้ของตนเอง เรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้ สนุกกับการเรียนรู้และชอบมาโรงเรียน
7 ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี
ตัวอย่างเช่น  มีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ  มีน้ำหนัก ส่วนสูง และมีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์  ป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติดให้โทษและหลีกเลี่ยงสภาวะที่เสี่ยงต่อความรุนแรง โรคภัย อุบัติเหตุ และปัญหาทางเพศ  มีความมั่นใจ กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม และให้เกียรติผู้อื่น  และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อน ครู และผู้อื่น
8 ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา
ตัวอย่างเช่น  ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านศิลปะ  ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านดนตรี/นาฏศิลป์ ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านกีฬา/นันทนาการ
6.ผลจากการประเมินพบว่าในปัจจุบันนี้ นักเรียนของประเทศไทย ยังมีปัญหาเกี่ยวกับจริยธรรมและคุณธรรมเป็นอย่างมาก ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะมีวิธีการอย่างไรที่จะกิจกรรมการเรียน รู้ที่เน้นจริยธรรมและคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับนักเรียน อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
พยายามนำเรื่องจริธรรมและคุณธรรมให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่จะสอน  โดยใส่ให้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการสอน ข้าพเจ้าซึ่งเป็นนักศึกษาหลักสูตรสังคมศึกษาต่อไปจะต้องเป็นครูสังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม  ก็ง่ายสำหรับการนำหลักจริธรรมและคุณธรรมมาปรับใช้ในเนื้อหาการสอน  เพราะเป็นเนื้อหาที่สามารถประยุกต์ใช้ได้ และข้าพเจ้าก็จะจัดชมรมที่สามารถนำนักเรียนไปบำเพ็ญประโยชน์ในโรงเรียนและชุมชน เพื่อสร้างจิตสาธารณะและจิตสำนึกรักถิ่นของตนให้กับนักเรียนในโรงเรียน



กิจกรรมที่ 14

ให้นักศึกษาศึกษา Power point  แล้วตอบคำถาม
การจัดการเรียนการสอนที่ท้าทายโดยใช้เครื่องมือ Mind Mapping  สอนอย่างไร ? ดีอย่างไร?
การสอนโดยใช้แผนที่ความคิด ( Mind Map )
แผนที่ความคิดคืออะไร
แผนที่ ความคิด ( Mind Map ) เป็นการนำเอาทฤษฎีที่เกี่ยวกับสมองไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด การเขียนแผนที่ความคิดเกิดจากการใช้ทักษะทั้งหมดของสมอง หรือเป็นการทำงานร่วมกันของสมองทั้ง 2 ซึก คือ สมองซีกซ้าย และสมองซีกขวา  สมองซีกซ้าย ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์คำภาษา สัญลักษณ์ ระบบ ลำดับความเป็นเหตุเป็นผล ตรรกวิทยาฯ  ส่วนสมองซีกขวา ทำหน้าที่สังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ จินตนาการ ความงาม ศิลปะ จังหวะ โดยมีเส้นประสาทส่วนหนึ่งเป็นตัวเชื่อมโยงสมองทั้งซีกซ้ายและขวา ให้ทำงานประสานกัน
วิธีการเขียนแผนที่ความคิด  แผนที่ ความคิด ( Mind Map ) พัฒนาจากการจดบันทึกแบบเดิม ๆ ที่บันทึกเป็นตัวอักษร เป็นบรรทัด เป็นแถว โดยดินสอหรือปากกา มาเป็นการบันทึกเป็นคำ ภาพ สัญลักษณ์ แบบแผ่เป็นรัศมีออกรอบ ๆ ศูนย์กลางเหมือนการแตกแขนงของกิ่งไม้ โดยใช้สีสันให้น่าสนใจ
แผนที่ความคิด ( Mind Map ) ใช้ได้กับอะไรบ้าง  แผนที่ ความคิด ( Mind Map ) นำไปใช้กับกิจกรรในชีวิตส่วนตัว และกิจกรรม ในการปฏิบัติงานทุกแขนงวิชา และอาชีพ เช่น ใช้ในการวางแผน การช่วยจำ การตัดสินใจ การแก้ปัญหา การนำเสนอ ฯลฯ
การเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิด ( Mind Map )  การ เรียนรู้วิชาต่าง ๆ ใช้แผนที่ความคิดช่วยในการศึกษาเล่าเรียนทุกวิชาได้เด็กเล็กจะเขียนแผนที่ ความคิดได้ตามวัยของตน ส่วนในชั้นที่โตขึ้นความละเอียดซับซ้อนจะมากขึ้นตามเนื้อหา และวัยของตน แต่ไม่ว่าจะเป็นระดับชั้นใด แผนที่ความคิดก็ช่วยให้เกิดความคิดได้กว้างขวาง หลากหลาย ช่วยความจำ ช่วยให้งานต่าง ๆ มีความสมบูรณ์ ความคิดต่าง ๆ ไม่ขาดหายไป
ยกตัวอย่างประกอบ  วิธีการสอนโดยใช้เครื่องมือหมวก 6ใบกับโครงงานแตกต่างกันอย่างไร
เทคนิคการสอนแบบหมวก (six thinking hats)  เป็นการรวมความสอนด้านต่างๆ ไว้ครบถ้วนทุกด้าน ระบบให้คนคิดทีละด้าน มองทีละด้าน จากด้านหนึ่งไปมองอีกด้านหนึ่ง จะได้เห็นภาพจริงที่ชัดเจน  ทำ ให้พิจารณาความคิดใหม่ ๆ ได้รอบคอบ เป็นผลให้เกิดความคิดที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น การคิดเป็นทักษะที่สามารถเรียนรู้ ฝึกฝน และพัฒนาได้ การใช้วิธีคิดแบบสวมหมวกคิด six thinking hats จะช่วยให้ผู้ คิดสามารถคิดอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนในการคิดอย่าง สร้างสรรค์และสามารถแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น  ส่วนการเรียนการสอนแบบโครงการ  เป็นการผสมผสานรูปแบบการ เรียนการสอนต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก เป็นการเรียนแบบลงลึกถึงรายละเอียดในเรื่องที่เด็กสนในและเป็นเรื่องที่เด็ก เลือกเรียนเอง จึงทำให้เด็กมีความตั้งใจที่จะเรียนรู้ กำหนดคำถามที่ตนเองสนใจ เพื่อค้นหาคำตอบและรับผิดชอบต่องานที่ทำ
          ตัวอย่างเช่น  วิธีการสอนแบบโครงการจะใช้คำถามที่นำไปสู่การทดลอง เป็นการเรียนการสอนแบบลงปฏิบัติ  การค้นคว้าหาคำตอบในสิ่งที่ผู้เรียนอยากรู้หรือสงสัยด้วยวิธีการต่างๆ เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้เลือกศึกษาตามความสนใจของตนเองหรือของ กลุ่ม เป็นการตัดสินใจร่วมกัน จนได้ชิ้นงานที่สามารถนำผลการศึกษาไปใช้ได้ในชีวิตจริง ส่วนวิธีการสอนแบบหมวก  6 ใบ จะใช้คำถามนักเรียนจะใช้ความคิดนี้ไปใช้ทำอะไร นักเรียนก็จะคิดมองทีละด้าน หลายๆแบบแล้วสรุปเป็นความคิดใหม่ ที่จะสามารถให้นักเรียนมีความรอบคอบและรอบด้านในเรื่องที่ศึกษา