จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (ข้อสอบ ๒๐ คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้
การจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมี ความรู้คู่คุณธรรม ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และมีวิสัยทัศน์ที่ดีกว้างไกล ดังนั้นการจัดการศึกษาจึงมีความจำเป็นและเป็นหน้าที่ที่สำคัญของโรงเรียนที่ต้องจัดการศึกษามีการส่งเสริม และสนับสนุนให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และมาตรฐานด้านปัจจัยกำหนดให้ครูมีความสามารถในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
๑. เน้นให้ผู้เรียนได้เห็นประโยชน์ของสังคม เรียนรู้ร่วมกัน มีการทำงานร่วมกัน ฝึกฝนให้รู้จักการเทคนิคและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง มีอิสระและรับผิดชอบ
๒. ครูต้องมีการวางแผนการจัดกิจกรรม เตรียมสื่อการสอนกำกับดูและกระบวนการจัดกิจกรรม ส่งเสริมการนำความรู้ไปใช้ ดังนั้นครูจึงจำเป็นต้องมีการ เตรียมการสอนเพื่อเป็นเครื่องช่วยให้ครูได้พัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ไปสู่จุดประสงค์การเรียนรู้และจุดหมายของหลักสูตร
๓. การที่เราจะจัดการเรียนการสอนจากการสังเกต วัดผล ทดสอบต่างๆ เรานำมาวิจัยดูพฤติกรรมของผู้เรียนและนำไปพัฒนานวัตกรรมสื่อใหม่ๆเพื่อการเรียนรู้และปรับปรุงการสอนให้ดีขึ้นและนำประสบการณ์มาปรับปรุงและแก้ไขแล้วนำไปใช้ในอนาคต
แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย (ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓)
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ ปฏิบัติการสายลับจิ๋ว จำนวน ๘ ชั่วโมง
แผนการเรียนรู้ที่ ๓ เรื่อง เชี่ยวชาญความรู้ เวลา ๑ ชั่วโมง
วันที่ ..............เดือน.............. พ.ศ. ..................
สาระสำคัญ
การอ่านในใจเป็นการอ่านที่เข้าใจเรื่องราวได้เพียงคนเดียว ผู้อ่านต้องใช้สมาธิ สติในการอ่าน ศึกษาคำยาก ตั้งจุดหมายในการอ่าน อ่านอย่างพินิจ พิจารณาจะทำให้จับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถตอบคำถาม ลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง และนำไปเขียนเป็นแผนภาพโครงเรื่อง เพื่อการเล่าเรื่องและเขียนเรื่องได้
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
๑. อ่านในใจบทเรียนตามหลักการอ่านในใจที่ดีได้ถูกต้อง
๒. ตั้งคำถาม ตอบคำถาม จากเรื่องที่อ่านได้
สาระการเรียนรู้
๑. อ่านในใจบทเรียน เรื่อง ปฏิบัติการสายลับจิ๋ว
๒. การตั้งคำถาม ตอบคำถามของเรื่อง
กระบวนการเรียนรู้
๑. นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละประมาณ ๔ - ๖ คน เพื่อเล่น “ปริศนาคำทาย” โดยครูเป็นผู้อ่านปริศนาคำทาย
๒. ร่วมกันสนทนาถึงหลักและวิธีการอ่านในใจ โดยครูแจกใบความรู้ เรื่อง การอ่านในใจ โดยให้ศึกษาหาความรู้เป็นกลุ่ม กลุ่มละ ๔-๕ คน
๓. นักเรียนฟังครูแจ้งจุดประสงค์ในการอ่านในใจ หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวังครั้งนี้ เช่น
๓.๑ ตั้งคำถาม และตอบคำถาม จากเรื่องที่อ่านได้
๓.๒สรุปข้อคิด และใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านได้
๔. แต่และกลุ่มรับใบกิจกรรมที่ ๓ เรื่อง ตั้งคำถามรวมพลังสามัคคี และทำกิจกรรมตามใบกิจกรรม
๕. แต่ละกลุ่มทำแบบฝึกหัดที่ ๓ เรื่อง การอ่านในใจและคิดวิเคราะห์ เสร็จแล้วส่งครูตรวจ
๖. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ และข้อคิดที่ได้จากเรื่อง ปฏิบัติการสายลับจิ๋ว โดยครูเน้นให้นักเรียนนำข้อคิดที่ได้จากเรื่องไปใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเรื่องความสามัคคี
๗. นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน หน่วยที่ ๑ ปฏิบัติการสายลับจิ๋ว
สื่อ/อุปกรณ์
๑. ปริศนาคำทาย
๒. ใบกิจกรรมที่ ๓ เรื่อง ตั้งคำถามรวมพลังสามัคคี
๓. แบบฝึกหัดที่ ๓ เรื่อง การอ่านในใจและคิดวิเคราะห์
๓. แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยที่ ๑ ปฏิบัติการสายลับจิ๋ว
แหล่งเรียนรู้
๑. ห้องสมุด
๒. ห้องเรียน
กระบวนการวัดผลประเมินผล
๑. วิธีการวัดผลและประเมินผล
๑.๑ การสังเกต
การอ่านในใจ
๑.๒ ตรวจผลงาน
๑.๒.๑ แบบทดสอบหลังเรียน
๑.๒.๒ แบบฝึกหัดที่ ๓
๒. เครื่องมือประเมินผล
๑. แบบสังเกตการอ่านในใจ
๒. แบบประเมินการตรวจผลงานการตั้งคำถาม (ใบกิจกรรม)
๓. เกณฑ์การประเมิน
๑. สังเกตอ่านในใจ ผ่านเกณฑ์อย่างน้อยร้อยละ ๘๐
๒. การตรวจผลงาน ผ่านเกณฑ์อย่างน้อยร้อยละ ๘๐